วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Organic Chemistry 2/11/2010

     3. สูตรโครงสร้างกับสมบัติทางกายภาพ
          - จุดหลอมเหลวและจุดเดือด ขึ้นตามมวล และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล

พันธะไฮโดรเจน > ไดโพล-ไดโพล > ลอนดอน
เรียงลำดับความแข็งแรงของพันธะ
                 จุดหลอมเหลว : ของแข็งกับของเหลวอยู่ร่วมกันอย่างสมมูล
                 จุดเดือด : ของเหลวมีความดันไอเท่ากับความดันบรรยากาศ (เป็นการทำลายแรงยึดเหนี่ยว   ระหว่างโมเลกุล)
          - การละลาย ขึ้นอยู่กับสภาพขั้ว สารที่มีขั้วละลายได้ดีในสารที่มีขั้ว ส่วนสารที่ไม่มีขั้วก็จะละลายได้ดีในสารที่ไม่มีขั้ว
            นอกจากนี้ การดูจากแรงที่เกิดขึ้นระหว่างตัวทำละลายและตัวถูกละลาย เมื่อละลายแล้ว ก็สามารถบอกได้ว่าการละลายเป็นอย่างไร
            หากว่าเกิดพันธะไฮโดรเจน แสดงว่าเกิดการละลายได้ดีมาก
            หากว่าเกิดแรงไดโพล-ไดโพล สารละลายได้ดี
            หากว่าเกิดแรงลอนดอน สารจะละลายได้เพียงบางส่วน

     4. ไอโซเมอริซึม - สารที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่โครงสร้างต่างกัน ทำให้สมบัติของสารแตกต่างกันด้วย แบ่งได้เป็น
          4.1 Structural Isomer : สูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่โครงสร้างต่างกัน
          4.2 Stereo Isomer : สูตรโมเลกุลและโครงสร้างเหมือนกัน แต่ตำแหน่งการจัดเรียงอะตอมต่างกัน

     5. ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
          5.1 ใช้ลักษณะของปฏิกิริยาเป็นเกณฑ์ แบ่งระหว่างสารประกอบพันธะเดี่ยว และสารประกอบพันธะคู่หรือสาม
          5.2 ใช้โครงสร้างเป็นเกณฑ์
               - Aliphatic Hydrocarbon แบ่งได้อีกเป็น branch และ chain
               - Alicyclic Hydrocarbon คาร์บอนโซ่ปิด
               - Aromatic Hydrocarbon คาร์บอนโซ่ปิดที่เสถียร เนื่องจากเกิดการรีโซแนนซ์ได้
               - Heterocyclic คาร์บอนเป็นวง และมีธาตุอื่นๆอยู่ด้วย
          5.3 ใช้หมู่ฟังก์ชันเป็นเกณฑ์
               - มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ แอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์ แอลดีไฮด์ คีโตน และเอสเทอร์
               - มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ เอมีน
               - มีออกซิเจนและไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ เอไมด์
               - มีธาตุฮาโลเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ สารประกอบฮาโลเจน

     6. ปฏิกิริยาของสารประกอบอินทรีย์
          6.1 ประเภทของปฏิกิริยาในเคมีอินทรีย์
                - ปฏิกิริยาการแทนที่ - ในสารประกอบคาร์บอนที่อิ่มตัว
                - ปฏิกิริยาการเติม - ในสารประกอบคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัว
                - ปฏิกิริยาการขจัดออก - เอาอะตอมออกจากโมเลกุล
                - ปฏิกิริยาการจัดเรียงตัวใหม่ - เรียงตัวใหม่ แต่ยังมีสูตรโมเลกุลเหมือนเดิม
                - ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน - สารประกอบคาร์บอนจะใหญ่ขึ้น มีหมู่ที่ซ้ำๆกันในสารประกอบ
                - ปฏิกิริยาการแตกตัว - จากโมเลกุลใหญ่ --> โมเลกุลเล็ก
          6.2 การสร้างและทำลายพันธะ
                - การสร้างพันธะ แบ่งได้เป็น
                     1. อะตอมสองอะตอม ใช้อิเล็กตรอนอะตอมละ 1 ในการสร้างพันธะโคเวเลนต์
                     2. อะตอมหนึ่งให้สองอิเล็กตรอนกับอีกอะตอมหนึ่ง แล้วสร้างเป็นพันธะโคเวเลนต์ขึ้น
                - การทำลายพันธะ แบ่งได้เป็น
                     1. เมื่อทำลายพันธะแล้ว อะตอมทั้งสองจะได้รับอิเล็กตรอนคืน อะตอมละ 1 อิเล็กตรอน เรียนอะตอมที่หลุดอย่างนี้ว่า อนุมูลอิสระ
                     2. หลังจากทำลายพันธะ จะมีอะตอมหนึ่งที่ได้รับอิเล็กตรอนไป 2 อิเล็กตรอน เกิดเป็นอนุมูลประจุบวก และอนุมูลประจุลบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น