วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Organic Chemistry 21/12/2010

               3 Hydrohalogenation of Alkenes (Markovnikov's Rule) : เติมอัลคิลเฮไลด์เข้าไปในโมลเกุลเพื่อทำลายพันธะไพ


          - Hydroxylation of Alkenes
               เรียกอีกอย่างว่า ปฏิกิริยาฟอกสีด่างทับทิม เป็นการเติม -OH เข้าไปในโมเลกุล โดยใช้สารละลาย KMnO4 ในสารละลายเบสเป็นตัวเร่ง
           - Hydration of Alkenes
               เมื่อเติมน้ำเข้าไปในโมเลกุลแอลคีน ซึ่งใช้กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น alcohol
           - Ozonolysis of Alkenes
               ใช้ โอโซนเข้าไปทำปฏิกิริยากับแอลคีน จะได้ผลิตภัณฑ์คือสารจำพวกแอลดีไฮด์ และคีโตน
          - Polymerization
               เป็นปฏิกิริยาของแอลคีนด้วยกันเอง จะเกิดเป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น โดยหากมีสารตั้งต้นมากเกินพอ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็นพอลิเมอร์


บทที่ 4 สารประกอบอัลไคน์ และอัลคาไดอีน

     เป็นสารประกอบที่ไม่อิ่มตัว คาร์บอนจะมีพันธะสามในโมเลกุล (พันธะซิกมา 1 พันธะ พันธะไพ 2 พันธะ) มีสูตรทั่วไปคือ CnH2n-2 

     การเรียกชื่อ
           การเรียกชื่อสารประกอบอัลไคน์นั้นสามารถเรียกชื่อได้สองประเภทเหมือนกับสารประกอบที่ได้กล่าวมาแล้ว ในการเรียกชื่อแบบ IUPAC จะคล้ายคลึงกับการเรียกชื่ออัลคีน โดยต้องระบุตัวเลขตำแหน่งของพันธะสามด้วย เช่น

     สมบัติทางกายภาพ
     โดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกับ สารประกอบอัลเคน และอัลคีน โดยจุดเดือดและจุดหลอมเหลวจะแปรผันตรงกับขนาดของโมเลกุล ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์

     การเตรียมสารประกอบอัลไคน์

          การเตรียมอะเซทิลีน
CaC2       +             H2O        --- >       C2H2       +             Ca(OH)2 d

          การเตรียมอัลไคน์ด้วยปฏิกิริยากำจัดออก
           เตรียมได้จาก geminal dihalides หรือ vicinal dihalides โดยมากจะทำในเบสแก่
vicinal dihalides

geminal dihalides

           การเตรียมจากปฏิกิริยาการขจัดออกของสารประกอบเตตระฮาโลเจน
           เติมสังกะสีเข้าไปในสารประกอบเตตระฮาโลเจน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็นอัลไคน์

     ปฏิกิริยาของอัลไคน์
          
          1 Hydrogenation of Alkynes
          เมื่อเติมไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุลอัลไคน์ ไฮโดรเจนจะเข้าไปทำลายพันธะไพ
          
          2 Synthesis of Alkenes
          เป็นการเตรียมสารประกอบอัลคีนโดยการเติมไฮโดรเจนเข้าไป และใช้ตัวเร่งที่เหมาะสม
 
          3 Halogenation of Alkynes
          เมื่อเติมฮาโลเจนให้ไปทำปฏิกิริยากับแอลคีน จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นเตตระฮาโลเจน ซึ่งไม่ต้องใช้แสงช่วยเหมือนกับแอลเคน

          4 Hydration of Alkynes
           เป็นการที่ให้น้ำเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารประกอบอัลไคน์ โดยจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะขึ้นอยู่กับสารตั้งต้นที่ทำปฏิกิริยา
           ถ้าผลิตภัณฑ์เป็น Internal Alkyne ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็น ketone
          ถ้าผลิตภัณฑ์เป็น Terminal Alkyne ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็น methyl ketone
          ถ้าผลิตภัณฑ์เป็น Acetylene ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็น acetaldehyde

          5 Hydrohalogenation of Alkynes
           เป็นการเติมสารประกอบจำพวกไฮโดรฮาโลเจนเข้าไปทำปฏิกิริยา โดยจะเป็นการเข้าไปทำลายพันธะไพ
          6 Oxidation Reaction

          * ถ้าสารตั้งต้นเป็น terminal alkynes ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเป็นกรดอินทรีย์เพียงตัวเดียว และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

          7 Polymerization of Acetylene
          เมื่อนำอะเซทิลีนมาทำปฏิกิริยาในหลอดร้อน จะได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นโซ่ปิดเกิดขึ้น